tistrname
เกี่ยวกับ วว.
พรินต์จากเว็บไซต์ของ วว.  (https://www.tistr.or.th/)
image
image image

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

ประวัติ

image image

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) เป็นรัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการตามนโยบายพิเศษของรัฐ ปัจจุบันเป็นหน่วยงานในกำกับของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

เดิมแรกก่อตั้งมีชื่อว่า สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ประยุกต์แห่งประเทศไทย (สวป.) ซึ่งตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ประยุกต์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2506 และได้เปลี่ยนมาใช้ พระราชบัญญัติสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522 สืบเนื่องจากการจัดตั้งกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2522 และให้ วว. เป็นหน่วยงานในกำกับ ต่อมาในปี 2562 มีการปรับเปลี่ยนภารกิจและชื่อกระทรวงใหม่เป็น กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562

  • พ.ร.บ.สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522  [ คลิกที่นี่ ]


  • โครงสร้างองค์กร

    วว. แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 6 กลุ่มงาน
    กลุ่มวิจัยและพัฒนา ด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ
    • ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรม
      ผลิตภัณฑ์สมุนไพร
    • ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรม
      อาหารสุขภาพ
    • ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรม
      เกษตรสร้างสรรค์
    • ศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพ
    กลุ่มวิจัยและพัฒนา ด้านพัฒนาอย่างยั่งยืน
    • ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรม
      หุ่นยนต์และเครื่องจักรกลอัตโนมัติ
    • ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรม
      พลังงานสะอาดและสิ่งแวดล้อม
    • ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมวัสดุ
    กลุ่มบริการอุตสาหกรรม
    • ศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา
    • ศูนย์พัฒนาและวิเคราะห์สมบัติของวัสดุ
    • ศูนย์การบรรจุหีบห่อไทย
    • ศูนย์ทดสอบมาตรฐานระบบขนส่งทางราง
    • สำนักรับรองระบบคุณภาพ
    กลุ่มยุทธศาสตร์
    และจัดการนวัตกรรม
    • สำนักยุทธศาสตร์วิสาหกิจ
    • สำนักจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม
    กลุ่มบริหาร
    • สำนักดิจิทัลและสารสนเทศ
    • สำนักบริการกลาง
    • สำนักบริหารการคลัง
    • สำนักบริหารทรัพยากรบุคคล
    • กองกฎหมาย
    กลุ่มขึ้นตรงผู้ว่าการ
    • สำนักผู้ว่าการ
    • สำนักตรวจสอบภายใน
    • สำนักสื่อสารองค์กร
    image

    แผนภูมิโครงสร้างองค์กร วว.  (Organization chart of TISTR)



    วิสัยทัศน์

    สร้างความเข้มแข็งให้ SMEs และชุมชนผ่านระบบนิเวศนวัตกรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างยั่งยืน
    (update 01/08/2565)

    พันธกิจ

    1. วิจัยพัฒนาและบูรณาการด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อสร้างคุณค่ามูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจประเทศบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพ ตอบสนองการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
    2. ถ่ายทอดเทคโนโลยี และนวัตกรรม สู่ภาคอุตสาหกรรมและวิสาหกิจชุมชน และผลักดันให้เกิดการนําไปใช้ประโยชน์ทั้งเชิงเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
    3. บริการวิเคราะห์ ทดสอบ สอบเทียบ รับรองระบบคุณภาพ อบรมและที่ปรึกษา เพื่อยกระดับมาตรฐานและความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรม
    4. พัฒนาระบบบริหารจัดการองค์กรสู่องค์กรสมรรถนะสูง ทันสมัย และมีธรรมาภิบาล
    (update 17/7/2563)

    ยุทธศาสตร์

    1. วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สนับสนุนการสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อยกระดับเศรษฐกิจ BCG
    2. วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สนับสนุนการพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมเพื่อยกระดับขีดความสามารถของ SMEs และอุตสาหกรรมเป้าหมาย
    3. พัฒนานวัตกรรมพลังงาน และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนภาคธุรกิจและสังคม
    4. พัฒนาองค์กรสมรรถนะสูง (High Performance Innovation Organization)
    5. เพิ่มความสามารถในการพึ่งพาตนเอง (Financial stability)
    (update 17/1/2567)

    วัฒนธรรมองค์กร

    สร้างองค์กรแห่งปัญญา สร้างคุณค่านวัตกรรม


    ค่านิยมองค์กร

    Smart TISTR - มุ่งเน้นลูกค้า พัฒนาตนเอง

    TISTR
    T = Team work   (การทำงานเป็นทีม)
    I = Innovation   (สร้างสรรค์นวัตกรรม)
    S = Satisfaction   (ความพึงพอใจของลูกค้า)
    T = Trustworthy   (ความศรัทธาและเชื่อถือ)
    R = Responsibility   (ความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย)
    (update 22/09/2559)

    ปณิธานการดำเนินการในระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐาน ISO 9001:2015

    "ดำเนินการวิจัยพัฒนา ถ่ายทอดเทคโนโลยี และบริการ ว. และ ท. อย่างมีคุณภาพด้วยมาตรฐานสากล
    เป็นที่พอใจของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตลอดไป"


    BCG model with TISTR O•Z•O•N•E Concept

    TISTR + BCG economy model

    วว. กับการสร้างความสมดุลให้เศรษฐกิจ สามารถเติบโตไปควบคู่กับสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน

    B

    Bio economy

    ระบบเศรษฐกิจชีวภาพ
    คือ การนำทรัพยากรชีวภาพมา “ผลิตให้คุ้มค่าที่สุด” โดยใช้เทคโนโลยีมาช่วย

    [ BCG-B in Actions ]

    C

    Circular economy

    ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน
    คือ "ใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุด” และต้องสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้

    [ BCG-C in Actions ]

    G

    Green economy

    ระบบเศรษฐกิจสีเขียว
    คือ การจัดการสภาพสังคมให้ “กระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด”

    [ BCG-G in Actions ]

            BCG model คือ การสร้างความสมดุลให้ “เศรษฐกิจสามารถเติบโตไปควบคู่กับสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน” โดยนำองค์ความรู้ การบริหารจัดการ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาต่อยอดความเข้มแข็ง นั่นก็คือ การนำคุณค่าจากความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรมมาแปลงเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจ เป็นการนำผลผลิตทางการเกษตรที่อุดมสมบูรณ์ มาปรับเปลี่ยนระบบการบริโภคและการผลิตที่นำไปสู่กระบวนการที่ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เพื่อรักษาความสมดุลและตอบโจทย์การพัฒนาอย่างยั่งยืน.
    ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ (อดีต รมว.ก.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม)
    หนึ่งในผู้ริเริ่มผลักดัน BCG model จนเป็นวาระแห่งชาติ
    background from www.freepik.com
    image

    4 Guiding Principles : กรอบแนวทางการดำเนินงานของ วว.

    Bio Based Research

    วิจัยและพัฒนาบนฐานของทรัพยากรชีวภาพ ครอบคลุมภารกิจที่เกี่ยวข้องกับคลัสเตอร์เป้าหมายของประเทศ เช่น การแปรรูปอาหาร เชื้อเพลิงชีวภาพ เคมีชีวภาพ และการแพทย์ครบวงจร
    image
    image

    Appropriate Technology

    พัฒนาเทคโนโลยีที่สามารถนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหา หรือตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ ได้อย่างสอดคล้องกับบริบทในการใช้งานจริง ทั้งในด้านต้นทุนและความซับซ้อนของเทคโนโลยี

    Total Solution Provider

    การบริการด้านการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบจนสู่ระดับเชิงพาณิชย์ (Commercialization) อย่างครบวงจรจนถึงส่งเสริมด้านการตลาดและเชื่อมโยงด้านการเงิน แก่ผู้ประกอบการทุกระดับ
    image
    image

    Community
    (Area Based)

    การดำเนินงานที่มุ่งเน้นการตอบโจทย์ความต้องการของชุมชนและประชาชนในพื้นที่ต่างๆ สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาเชิงพื้นที่ ร่วมกับหน่วยงานและสถาบันการศึกษาในพื้นที่ เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน
    
    Copyright ©2024  วว•TISTR  All rights reserved.
    วว. เป็นองค์กรของรัฐ ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาประเทศ
    โดยไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร. หากพบการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาในเว็บไซต์นี้
    โปรดแจ้ง วว. แก้ไขโดยเร็วที่สุดต่อไป.   (TISTR is a non-profit organization)
    " ipv6 ready
    statistic